..Unti 4..




                                     จิตวิทยาคืออะไร
 ?



         คำว่า “จิตวิทยา” (Psychology) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกจากคำว่า “Psyche” ที่แปลว่า “จิตใจ หรือจิตวิญญาณ” กับคำว่า “logos” ที่แปลว่า “การศึกษา” ดังนั้นความหมายของจิตวิทยาในยุคแรกเริ่มก็คือ “ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ” แต่ต่อมาความหมายของจิตวิทยาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ขึ้นอยู่กับแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อนักจิตวิทยาหรือความสนใจของนักจิตวิทยาในยุคนั้นๆ เช่น ในยุคที่แนวคิดเรื่องจิตไร้สำนึกเป็นที่สนใจ จิตวิทยาก็ถูกให้ความหมายว่าการศึกษาเกี่ยวกับจิตไร้ สำนึก แต่ในยุคที่สำนักพฤติกรรมนิยมเป็นใหญ่ ความหมายของจิตวิทยาก็เปลี่ยนไปเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม เป็นต้น
      จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์และสัตว์  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้าใจสามารถอธิบาย สามารถทำนาย กำหนดควบคุมพฤติกรรมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

 ประเภทของพฤติกรรม (Behaviors)
 นักจิตวิทยา หลายท่านได้จัดประเภทของพฤติกรรมมนุษย์เป็น ๒ ประเภท ดังนี้

1. พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) คือ การกระทำที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้รับรู้ได้หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบได้ พฤติกรรมภายนอกมี๒ลักษณะคือ

1.1 พฤติกรรมภายนอกที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้ายตาเปล่า เช่น การนั่ง การนอน การยืน การเดิน การกิน การพูด การหัวเราะ การร้องไห้ ฯลฯ พฤติกรรมแบบนี้เรียกว่าโมลาร์ (Molar)1.2พฤติกรรมภายนอกที่รับรู้ได้จากการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ เช่น คลื่นสมอง คลื่นหัวใจ ความดันโลหิต การทำงานของชีพจร การทำงานของกระเพาะอาหาร การทำงานของลำไส้ เป็นต้น พฤติกรรมแบบนี้เรียกว่า โมเลคิวลาร์ (Molecular)

2.พฤติกรรมภายใน(CovertBehavior)คือกระบวนการทางจิต (Mental Behavior) พฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบได้โดยตรงเช่น การคิด อารมณ์ ความรู้สึก ความจำ การลืม การวิเคราะห์หาเหตุผล ประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น




 ประโยชน์ของจิตวิทยา

1.ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์
2. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์

3. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจและรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์
4.ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจการรับสัมผัสและการรับรู้
5. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
6.ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจสิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายโยงการเรียนรู้
7. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจเชาวน์ปัญญาและตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเชาว์ปัญญาของมนุษย์แต่ละบุคคล
8.ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจวิธีการประเมินและวัดบุคลิกภาพได้และแนวทางในการปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง
9.ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจความหมายของสุขภาพจิตและสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพจิต รู้วิธีการบำบัดรักษาผู้มีอาการทางจิตและการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่น
10. ทำให้ผู้ศึกษามีวิธีในการปรับตัว มีกลวิธานในการป้องกันตนเองและเข้าใจข้อดีและข้อเสียของการให้กลวิธานในการป้องกันตนเอง

11. ทำให้ผู้ศึกษาเกิดการรับรู้พฤติกรรมทางสังคม (Social Perception)ที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ 




บทสรุปของจิตวิทยา


    จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องกระบวนการของจิต และพฤติกรรม

ของสิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกของมนุษย์ที่เรี่ยกว่ากระบวนการทางจิต อันจะทำให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น สามารถอธิบายพฤติกรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดพฤติกรรมต่าง ๆ  โดยนักจิตวิทยาทั้งหลายจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบเพื่ออธิบายพฤติกรรมทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งจะส่งผลให้สามารถควบคุมพฤติกรรม ที่ไม่พึงปรารถนาให้ลดลงหรือหมดไป และขณะเดียวกันให้สามารถเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นใหม่ได้ด้วย และเพื่อให้ผู้ศึกษานำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จิตวิทยาเป็นวิชาที่ใกล้เคียงกับพระพุทธศาสนาในโอกาสต่อไปจะเขียนบทความทางด้านวิชาพุทธจิตวิทยา เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าจิตวิทยาในพระพุทธศาสนามีความเป็นเลิศอย่างไร อย่างเช่น ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า “การศึกษาเรื่องจิตในด้านต่าง ๆ  เพื่อการดับทุกข์ การศึกษานั้นเรียกว่า การศึกษาจิตวิทยาในพระพุทธศาสนา




  ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ


1.   ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
 2.สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวายและใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ

3.การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล

4.การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย


    จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ

2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง

3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอน

 ในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น

1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง

2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ

3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ

4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยากจิตวิทยาพัฒนาการ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา



 สื่อการเรียนการสอน

      สื่อการสอนสื่อการเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง สื่อการสอนเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ทำให้มีการรับรู้และการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพผู้เรียนสามารถเรียนได้มากขึ้นแต่เสียเวลาน้อยลงความหมายของสื่อการสอนหมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการใดๆ ที่นำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเป็นตัวกลางหรือตัวเชื่อมในการถ่ายทอด ประสบการณ์ไปยังผู้เรียนคุณค่าของสื่อการสอน

1. คุณค่าวิชาการ

2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้

3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษาคุณสมบัติของการสื่อสาร

  3.1 สามารถจับยึดประสบการณ์ การกระทำที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วไว้ได้อย่างคงทน

  3.2 สามารถจัดแจงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน

  3.3 สามารถแจกจ่ายและขยายจำนวนของสื่อออกเป็นหลายฉบับ เพื่อเผยแพร่ไปสู่ผู้เรียนจำนวนมากและสามารถใช้ซ้ำๆ กันได้หลายๆ ครั้งตามความต้องการประเภทของการสื่อสารสื่อการสอนครูนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนมีหลากหลายชนิด การจำแนกประเภทของการสื่อสารสอนเป็นหมวดหมู่จึงทำได้หลายวิธีโดยใช้เกณฑ์ต่างกัน













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น